ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 เวลา 09.00 - 12.00 น.

ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาและสารสนเทศ อ.พญ.โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์, หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์และเจ้าหน้าที่ ได้เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี สำนักงานวิทยทรัพยากร เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้งานด้านระบบห้องสตูดิโอและระบบงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ โดยได้รับการต้อนรับจากนายบรรพต สร้อยศรี
ผู้จัดการศูนย์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งให้เกียรติเป็นวิทยากรนำชม ห้องต่าง ๆ ดังนี้

1.ห้อง Collaborative Classroom เป็นห้องเรียนเหมือนห้อง Smart Classroom แต่มีการวางตำแหน่งและอุปกรณ์ยืดหยุ่นการใช้งานได้มากกว่า แต่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานเหมือนกัน ในรายละเอียดของอุปกรณ์ เน้นอุปกรณ์แบบไร้สาย คุณภาพสูง เช่น
- ใช้อุปกรณ์รับ-ส่งภาพไร้สายของ VIA Kramer มีความยืดหยุ่นกับอึปกรณ์ในการเชื่อมต่อทั้งระบบ IOS, Android, Chrombook, PC หรือ MAC มีความละเอียดในการเล่นวีดีโอ Streaming ระดับ Full unintervupted HD video (สูงถึง 1080p 60) และมาพร้อมกับระบบ Buil-in Wi-fi ทำให้ในวงไม่ต้องเชื่อมต่อเข้ากับ network ขององค์กร
- อุปกรณ์ video record 360๐ โดยควบคุมผ่านเซนเซอร์รีโมท จะโฟกัสไปที่วิทยากรผู้ถือรีโมท ผ่านระบบ network แสดงผลด้วย Ipad, Iphone และบันทึก video ความละเอียดสูงลงบนอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย
- ไมโครโฟน แบบ wireless โดยจะทำการ tune ช่องสัญญาณไม่ให้ชนกันก่อนประชุม

2.ห้องปฏิบัติการทางด้านเสียง เป็นห้องให้บริการด้านเสียงโดยเฉพาะ สามารถบันทึกเสียงเพื่อบันทึกหรือทำสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนการจัดทำรายการวิทยุ และสามารถถ่ายทอดสดผ่านระบบ Social เช่น facebook, youtube ได้อีกด้วย

3.ห้องสตูดิโอ เป็นห้องสำหรับถ่ายทำและบันทึกเทปโทรทัศน์ มีระบบ Virtual ซึ่งเป็นระบบการสร้างฉากในห้องถ่ายทำรายการเสมือนจริง ทำการซ้อนภาพได้อย่างมีอิสระตามต้องการ ใช้งานง่าย รวดเร็ว ผ่านซอฟแวร์ โดยทำงานร่วมกับเครื่องผสมสัญญาณภาพ (Video Mixer) ทำหน้าที่เชื่อมโยงภาพจริงที่เกิดจากกล้องที่ถ่ายทำแบบโครมาคีย์ (Green Screen) เข้ากับภาพที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้ออกมาเป็นสัญญาณขาออก เพื่อนำไปบันทึกหรือนำไปออกอากาศสดได้ทันที

4.ห้อง Master control Room (MCR มีระบบ NAS Storage ในการจัดเก็บต้นฉบับของ Video และภาพนิ่ง โดยผ่าน Software Navigator ผ่านระบบเครือข่าย ในการทำงานสามารถดึงงานต้นฉบับมาจัดการผ่าน software ในห้องนี้ โดยอุปกรณ์ภายใน MCR สนับสนุนการทำงานหลายฟังก์ชั่น เช่น Master switcher สำหรับเลือกรายการสำหรับออกอากาศ, DVE สำหรับย่อขยายภาพ, ระบบ Panel Control Router รองรับรายการสดจากแหล่งที่มาภายนอก, ระบบการเช็คสัญญาณภาพ/เสียง หรือ Multi-view/Monitor, ระบบ Playlist สำหรับการเรียกผังรายการผ่าน Video Play-out Server สำหรับออกอากาศ, ผลิตโลโก้-ตัวหนังสือ (CG) ตัววิ่งในขณะออกอากาศ เป็นห้องสำหรับจัดเก็บไฟล์วีดิทัศน์ และผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานประชุมวิชาการ, งานรับเสด็จ เป็นต้น โดยหลังจากถ่ายทำสื่อเรียบร้อยแล้ว สื่อที่จัดเก็บสามารถนำขึ้นมาใช้โดยผ่านระบบ network เพื่อจัดทำหรือสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว